ข้าพระพุทธเจ้าน้อมถวายพระพรชัย ขอพระเกียรติเกริกไกรทุกสถาน ดวงพระราชหฤทัยสุขสราญ "หมู่ภัยพาลแพ้พ่าย" ระบารมี ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"สมเด็จพระบรมฯ" เสด็จพระราชพิธีวันพืชมงคลที่สนามหลวง (13 พ.ค. 56)


วันนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรรงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ มาถึงพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2556




สำหรับผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวสุมาลี จำเริญ นิติกรชำนาญการ กรมปศุสัตว์ และนางสาวสุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร 

เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวพชร ลาภผล นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมง นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชาลี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 

คู่เคียงมีจำนวน 16 ราย และผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย 

พระโคแรกนา ได้แก่ ฟ้า และ ใส 

พระโคสำรอง ได้แก่ มั่น และ คง


เมื่อถึงฤกษ์พิธีไถหว่าน พระยาแรกนาจะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิต และพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโค และไถดะไปโดยรี 3 รอบ และไถขวาง 3 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดธัญพืช พระยาแรกนาส่งพระแสงปฏักให้หัวหน้าพราหมณ์ถือไว้ เพื่อหยิบพันธุ์ข้าวเปลือกในกระบุงทองกระบุงเงินที่เทพีหาบ ตามหว่านลงในลานแรกนาพร้อมไถกลบ 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดธัญพืชลงในดิน เมื่อครบแต่ละรอบพนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์ ครั้งหว่านเสร็จพระยาแรก นารับพระแสงปฏักจากหัวหน้าพราหมณ์กลับเข้าสู่โรงพิธีพราหมณ์พร้อมด้วยเทพี

พนักงานผู้ทำหน้าที่ดูแลพระโคปลดพระโคออกจากแอกแล้วจูงพระโคทั้งคู่ไปยืนที่ขอบลานแรกนา ตรงหน้าพลับพลาที่ประทับ พราหมณ์ถือถาดวางกระทงบรรจุของ เลี้ยงพระโคเป็นการเสี่ยงทายถาดละ 7 สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า
















ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ : เวปผู้จัดการOnline http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057029&#Vote

ประวัติพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


พระบรมฉายาลักษณ์นี้  เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๒๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการพระราชพิธีพืชมงคล เสด็จ ฯ ขึ้นสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระพุทธรูปสำคัญ พระราชาคณะถวายศีลจบแล้ว ทรงพระสุหร่ายถวายดอกไม้บูชาพระพุทธคันธารราษฎร์ ทรงอธิษฐานเพื่อความสมบูรณ์แห่งพืชผล ของราชอาณาจักรไทยแล้ว พระราชครูวามเทพมุนีฯ หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคลพระสงฆ์ ๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์จบ ทรงหลั่งน้ำสังข์ ทรงเจิมพระราชทาน นายแสวง กุลทองคำ ปลัดกระทรวงเกษตร และเทพีผู้จะแรกนาขวัญ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรกออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินกลับ



สำหรับปี ๒๕๕๖ นี้ ปฏิทินหลวงกำหนดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งประกอบด้วยพระราชพิธี ๒ พิธีรวมกัน

คือพระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๑๒ พ.ค.เวลา ๑๗.๐๐ น.

กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง


ประวัติพระราชพิธีมงคลจรดพนังคัลแรกนาขวัญ


พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี ๒ พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่งซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น



ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ ๓ ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนว่า 


"การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้วพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่น และความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่า มากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิและมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลังจึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้างให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด”
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของพิธีแรกนาอยู่ที่จะทำให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรเพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา แม้จะเป็นความจำเป็นสำหรับบ้านเมืองในสมัยโบราณอย่างไรถึงปัจจุบันนี้คงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้นเป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย 

ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่างตามที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง โดย ๒ อย่างแรกที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง” นั้น ทรงหมายถึงพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า "บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง” นั้น ทรงหมายถึง พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์



พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น


การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณี ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟู พระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด

เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาในระยะแรกนั้นพระยาแรกนา ได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายหลังพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทองและคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป




พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือบุพพัณณะ หรือบุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่น ๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวกถั่วงา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณปรัณณชาติที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆ รวม ๔๐ อย่างแต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาวกับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านใน พระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้



อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธี พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ : เวปสำนักข่าวเจ้าพระยา http://www.chaoprayanews.com/2013/05/13/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/
เวปผู้จัดการOnline http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057022

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน

ในหลวงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล



หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์
ในหลวงกับหลวงปู่ขาว อนาลโย 





หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
ในหลวงกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
ในหลวงกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร 



งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ในหลวงกับหลวงปู่้แหวน สุจิณโณ







หลวงปู่้แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ในหลวงกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม 
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย
ในหลวงกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร 
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย
ในหลวงกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ในหลวงกับหลวงพ่อเกษม เขมโก





หลวงพ่อเกษม เขมโก
สำนักสุสานไตรลักษณ์ (ป่าช้าศาลาดำ)
บ้านท่าคร่าวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง
ในหลวงกับหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต 

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
ในหลวงกับครูบาชัยวงศาพัฒนา 

ครูบาชัยวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน
ในหลวงกับหลวงพ่อวัน อุตฺตโม 

หลวงพ่อวัน อุตฺตโม
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) 
ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
ในหลวงกับหลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ 
หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ
วัดวังก์วิเวการาม ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
ในหลวงกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย 

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ในหลวงกับหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ
เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมโกศาจารย์
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ดจ. นนทบุรี
ในหลวงกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ 
(ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบาตรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า 
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายน้ำพระพุทธมนต์
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓

ในพระราชพิธีทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ 
โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ 

สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ-พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ 
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายอนุศาสน์ 
เมื่อพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงทำอุปัชฌายวัตร 
ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ 
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายสักการะทูลลาเพื่อทรงลาผนวช 
ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ 
พระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช 
ทรงฉายกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฝีมือระเด่น บูซากิ 

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพัดยศและเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จฯ
ในงานพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ทรงมีพระราชปฏิสันฐานกับสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)


พระรูปที่สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมดิลก
ทรงฉายกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในกรอบ ณ ตำหนักพระรูป (ใหม่)
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพัดยศและเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จฯ 
ในงานพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพระสุพรรณบัฏแด่สมเด็จฯ 
ในงานพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าป่า
และสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ทรงพิจารณาผ้าป่า ณ พุทธมณฑล
ในพิธีเททองพระเกตุมาลาพระประธานพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายน้ำสรงสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
ในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
ในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับสมเด็จพระญาณสังวร 
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๒-ปัจจุบัน

เมื่อครั้งทรงเป็น “พระอภิบาล” ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

























สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๒-ปัจจุบัน
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน
ณ วัดมหาธาตุฯ แด่พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชสิทธิมุนี 
เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๐๐ น.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับหลวงตามหาบัว ฌาณสัมปัณโณ
ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ
เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระราชญาณวิสุทธิโสภณ
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒






 หลวงตามหาบัว ฌาณสัมปัณโณ
วัดป่าบ้านตาด อ. เมือง จ. อุดรธานี
ในหลวงกับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ
วัดบ้านไร่ ต. กุดพิมาน อ. ด่านขุนทด จ. นครราชสีมา
ในหลวงกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน)
วัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
ในหลวงกับหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ในหลวงกับหลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ 


ในหลวงทรงประคอหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งมาเจริญพระพุทธมนต์ 
ในวโรกาสที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ 
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ 

หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ (พระราชสังวราภิมณฑ์)
วัดประดู่ฉิมพลี บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ในหลวงกับพ่อท่านคล้าย จนฺทสุวณฺโณ
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย จนฺทสุวณฺโณ)
วัดสวนขัน ต.สวนขัน กิ่ง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช
ในหลวงกับหลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) จนฺโท


หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) จนฺโท
วัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
ในหลวงกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ 
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)
บ้านคำแคนพัฒนา ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
 
ในหลวงกับหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
และหลวงปู่หลอด ปโมทิโต (องค์ใส่แว่น)


หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ

หลวงปู่หลอด ปโมทิโต 
วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) 
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 
 
ในหลวงกับหลวงพ่อแบน ธนากโร 
หลวงพ่อแบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
ในหลวงกับพระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต) 
พระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต)
วัดสุทธิตวราราม ต.ท่าฉลอม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ในหลวงกับหลวงปู่นำ ชินวโร



หลวงปู่นำ ชินวโร
วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

ในหลวงกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงสรงน้ำท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
วัดราชผาติการาม แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ในหลวงกับครูบาพรหมา พรหมจักโก

ครูบาพรหมา พรหมจักโก
วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ในหลวงกับหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป)
วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ในหลวงกับหลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง 
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ 
จากพระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ 
เพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ณ บ้านคาและบ้านโป่งกระทิงล่าง 
ต.บ้านบึง กิ่ง อ.สวนผึ้ง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี (ในขณะนั้น) 
มีข้าราชการและราษฎรเป็นจำนวนมากที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท 
ได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารอย่างใกล้ชิดกับบรรดาราษฎร
แล้วเสด็จไปยัง สำนักสงฆ์พระธาตุเขาน้อย 
(ปัจจุบันคือ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบุรี) 
เสด็จขึ้นศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูปเทียน ทรงนมัสการพระรัตนตรัย 
และมีพระราชดำรัสกับ พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ (หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต) 
เกี่ยวกับทุกข์สุขของราษฎร แล้วเสด็จลงทรงเยี่ยมราษฎร 
และทรงปลูกต้นไม้ ได้แก่ ต้นปีบ (ต้นกาซะลอง) และต้นอินทนิล 
ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ 

พระครูวิโรจน์ธรรมมาจารย์ (หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต) 
วัดอริยวงศาราม (วัดหนองน้ำขาว) 
บ้านหนองน้ำขาว ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี


ในหลวงกับหลวงจีนคณาณัติจีนพรต (ไต้ซือเย็นบุญ )

หลวงจีนคณาณัติจีนพรต (ไต้ซือเย็นบุญ)
วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่)
แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ





ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: เวปไซด์ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net >>>www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=24605