วันที่ ๒๘ เมษายน นับเป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญยิ่ง หากนับถอยหลังไปในวันนี้เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ใน พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และ หม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตยที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่วไป
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อรัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นั้น ประเทศไทยขาดพระบรมราชินีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นคือ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ประชาชนชาวไทยจึงพากันตื่นเต้นยินดี ยิ่งได้ทราบว่าพระคู่หมั้นทรงมีพระสิริโฉมงดงาม
และแล้วสำนักพระราชวังก็ได้ประกาศข่าวพระราชกระแสรับสั่งให้จัดเตรียมการพระ ราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นเป็นลำดับแรก และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นลำดับถัดไป ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งดังกล่าวได้มีประกาศไว้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๒๓ เล่มที่ ๖๗ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓ เรื่อง การพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ๒๔๙๓
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๐ มีนาคม ๒๔๙๓
และเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม
โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็นพระราชินีสิริกิติ์
โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็นพระราชินีสิริกิติ์
ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า ๒๐๐๐ โครงการในปัจจุบัน
ขอทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญ
มีพระชนม์มายุยิ่งยืนนาน พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง
สถิตเป็นมิ่งขวัญพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ขอขอบคุณเวปสำนักข่าวเจ้าพระยา http://www.chaoprayanews.com/2010/04/29/%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B360-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/