ข้าพระพุทธเจ้าน้อมถวายพระพรชัย ขอพระเกียรติเกริกไกรทุกสถาน ดวงพระราชหฤทัยสุขสราญ "หมู่ภัยพาลแพ้พ่าย" ระบารมี ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

๒๘ เมษายน วันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส ในหลวงและพระราชินี





วันที่ ๒๘ เมษายน นับเป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญยิ่ง หากนับถอยหลังไปในวันนี้เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาพระองค์ใหญ่ใน พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และ หม่อมหลวงบัว กิติยากร




เมื่อพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน "ราชาภิเษก" ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัครมเหสี โดยประกาศวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ความตอนหนึ่งว่า "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับ ห­­ม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ท­­ุกประการแล้ว"

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประช­­าธิปไตยที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพา­­ณิชย์เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่วไป









ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อรัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย­­ู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบา­­ทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นั้น ประเทศไทยขาดพระบรมราชินีมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้นคือ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ประชาชนชาวไทยจึงพากันตื่นเต้นยินดี ยิ่งได้ทราบว่าพระคู่หมั้นทรงมีพระสิริโฉม­­งดงาม




และแล้วสำนักพระราชวังก็ได้ประกาศข่าวพระร­­าชกระแสรับสั่งให้จัดเตรียมการพระ ราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นเป็นลำดับแรก และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นลำดับถัดไป ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งดังกล่าวได้มีประกา­­ศไว้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๒๓ เล่มที่ ๖๗ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓ เรื่อง การพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ๒๔๙๓









พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๐ มีนาคม ๒๔๙๓ 

และเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม 

โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็นพระราชินีสิริกิติ์







หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน 

ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า ๒๐๐๐ โครงการในปัจจุบัน

















ขอทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญ 
มีพระชนม์มายุยิ่งยืนนาน พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง 
สถิตเป็นมิ่งขวัญพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไป 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ



อ่านบทความ "งดงามในความทรงจำ 60 ปีราชาภิเษกสมรส" ได้ที่ลิ้งค์นี้นะคะ 
ขอขอบคุณเวปสำนักข่าวเจ้าพระยา http://www.chaoprayanews.com/2010/04/29/%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B360-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/

ขอขอบคุณ : http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=category&type=view&cat=73